เอกสาร CI หรือ พาสปอร์ต CI คืออะไร?
เอกสาร CI คืออะไร?
เอกสาร CI หรือ เอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือ passport CI หรือ พาสปอร์ตสีเขียว คือ เอกสารที่แสดงว่า คนต่างด้าวผู้นั้นได้รับการรับรองสัญชาติเมียนมา จากทางการของประเทศพม่า มีสิทธิอยู่และขออนุญาตทำงานในประเทศไทยได้ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
โดย เอกสาร CI เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ รัฐบาลไทยผ่านกระทรวงแรงงาน กับรัฐบาลพม่า ที่จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่ลักลอบทำงานในประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย, ให้มาขึ้นทะเบียนพิสูจน์สัญชาติและจะได้ทำหนังสือเดินทางที่ถูกต้องต่อไป
เอกสาร CI นี้ สามารถใช้เพื่อการเดินทาง เข้า-ออก ประเทศไทยและประเทศพม่า ได้เหมือนหนังสือเดินทางแบบปกติ, เพียงแต่จะสามารถใช้เพื่อเดินทาง เข้า-ออก ได้เพียง ประเทศไทย และ ประเทศพม่า ๒ ประเทศนี้เท่านั้น
เมื่อคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ได้รับ เอกสาร CI แล้ว จะต้องนำเอกสารนี้ไปตรวจลงตรา (VISA) และประทับตราเพื่อให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ (Stay permit) จากหน่วยงานของประเทศไทยที่กำหนด
และ เมื่อคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ได้ตรวจลงตรา (VISA) และ ประทับตราเรียบร้อยแล้ว ให้คนต่างด้าวผู้นั้น นำ เอกสาร CI ไปยื่นขออนุญาตทำงานกับหน่วยงาน ของกรมการจัดหางาน, ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา ๙ ของ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑
การพิสูจน์สัญชาติ เป็นมาตรการหนึ่งในการจัดระบบการจ้างคนต่างด้าวในประเทศไทย เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
เมื่อ พาสปอร์ต CI หมดอายุ สามารถเปลี่ยนพาสปอร์ตเป็นแบบ international หรือ PJ (เล่มสีแดง) ได้ เรามีบริการ เปลี่ยนเล่ม CI เป็น PJ >> คลิ๊กที่นี่
สอบถาม โทร. 085-386-3333
การยื่นขออนุญาตทำงาน
การยื่นขออนุญาตทำงาน ของคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ที่ได้ เอกสาร CI มาแล้ว แต่เดิมจะต้องใช้แบบ ตท.๒ ในการยื่นคำขออนุญาตทำงาน แต่ปัจจุบันใช้วิธีการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน (บต.๔๘) ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Workpermit (CLM)) แทน
คู่มือการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน (บต.๔๘) ทางอิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนในการใช้งานระบบ e-Workpermit จะประกอบไปด้วย
๑. การลงทะเบียนใช้งานระบบ โดยจะแบ่งนายจ้างออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
นายจ้างประเภท นิติบุคคล
นายจ้างประเภท บุคคลธรรมดา (คนไทย)
นายจ้างประเภท บุคคลธรรมดา (คนต่างชาติ)
๒. การเข้าสู่ระบบ
๓. การยื่นแบบบัญชีรายชื่อความต้องการคนต่างด้าว (Name list)
๔. การจัดการข้อมูลคนต่างด้าว
passport CI หรือ เอกสาร CI นี้ แรงงานสัญชาติเมียนมา ที่ต้องการทำงานในราชอาณาจักรไทย จะต้องใช้คู่กับ บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือ บัตรชมพู
บัตรชมพู หรือ บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย คือ เอกสารทะเบียนราษฎรประเภทหนึ่ง ที่นายทะเบียนออกให้กับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล
โดยรูปแบบบัตร ทำจากกระดาษพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ และ เคลือบด้วยวิธีการเฉพาะ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง
ทั้งนี้ กรมการปกครอง มีหน้าที่จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ (ท.ร. ๓๘/๑) และ ออก บัตรชมพู โดยด้านหลังของบัตร จะเป็นใบอนุญาตทำงาน เพื่อใช้สำหรับ แรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติ (พม่า ลาว และ กัมพูชา)
ซึ่ง บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือ บัตรชมพู จะมีอยู่ ๒ ประเภท ได้แก่
๑. บัตรที่มีสีชมพูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บัตรประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย (มี ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๔) และ คนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ เช่น ชนกลุ่มน้อย แรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ลาว และ กัมพูชา (ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๓ หรือทะเบียนประวัติ ท.ร.๓๘)
๒. บัตรที่ด้านหน้าเป็นสีขาวและด้านหลังเป็นสีชมพู บัตรประเภทนี้จะออกให้แก่คนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
โดยคนที่จะทำบัตรทั้ง ๒ ประเภทนี้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๗๐ ปี และบัตรทั้ง ๒ ประเภทนี้ มีอายุ ๑๐ ปี เว้นแต่ ผู้ถือบัตรจะพ้นจากสถานะคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือกลายเป็นคนผิดกฎหมาย ให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ภาคผนวก
“คนต่างด้าวตามมาตรา ๙” หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จำแนกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. ประเภททั่วไป หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่มีทักษะและทำงานอยู่ในตำแหน่งค่อนข้างสูง หรืออาจถูกส่งมาจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย หรือเข้ามาทำงานชั่วคราวในงานที่ต้องใช้ทักษะ และเทคโนโลยีชั้นสูง หรือมีความสามารถทางการสื่อสาร (ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถ หรือมีความชำนาญเข้ามาร่วมงานไม่ได้ หรือเป็นการเข้ามาทำงานในกิจการที่ตนเองลงทุน หรือกิจการของคู่สมรส หรือกิจการที่ร่วมลงทุน เป็นต้น
๒. ประเภทเข้ามาทำงานอันจำเป็นเร่งด่วน หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ซึ่งเป็นงานที่ต้องดำเนินการโดยทันทีทันใด หากไม่เร่งดำเนินการอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินกิจการของบริษัท หรือลูกค้าของบริษัท หรือส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยไม่มีแผนการดำเนินการล่วงหน้ามาก่อน และต้องเข้ามาทำงานนั้นในระยะเวลาไม่เกิน ๑๕ วัน
๓. ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๒ ข้อ ๑๐ (๑๐) มีสาระสำคัญว่า “ใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตของคนต่าางาด้าวนั้น เว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่”
๔. ประเภทข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานกับประเทศคู่ภาคี ได้แก่
๔.๑ พิสูจน์สัญชาติ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติ พม่า ลาว และ กัมพูชา ที่ได้รับการจัดระบบตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ ๗ ยุทธศาสตร์ โดยดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การจัดระบบการจ้างคนต่างด้าว หลักการคือ ปรับสถานภาพคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองให้เป็นแรงงานเข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย เปิดโอกาสให้นายจ้างนำคนต่างด้าวมารายงานตัว เพื่อจัดส่งรายชื่อให้ประเทศต้นทางพิสูจน์ และรับรองสถานะ โดยมติคณะรัฐมตรีผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับ อนุญาตให้ทำงานได้ ๒ งาน คือ งานกรรมกร และ คนรับใช้ในบ้าน มีใบอนุญาตทำงานบัตรสีชมพู และต้องปรับเปลี่ยนสถานะโดยการพิสูจน์สัญชาติจากเจ้าหน้าที่ประเทศต้นทางเพื่อรับเอกสารรับรองสถานะ ได้แก่ หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary passport) หรือ เอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) เป็นต้น และขออนุญาตทำงาน
๔.๒ แรงงานนำเข้า หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงว่าด้วยการจ้างคนต่างด้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ภาคี (MOU) ปัจจุบันทำข้อตกลงกับประเทศ ๓ ประเทศ คือ ลาว, กัมพูชา และ พม่า ตามลำดับ
“ประเภทงาน” หมายความว่า งานตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ ทำได้ (ฉบับที่ ๑๔) ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗
“ลักษณะงาน” หมายความว่า ขอบข่ายภารกิจ ความรับผิดชอบของตำแหน่งงานนั้น
“การเพิ่มท้องที่ทำงาน” หมายความว่า การเพิ่มจังหวัดที่เคยได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยยังคงทำงานใหจังหวัดเดิมด้วย
“การเปลี่ยนสถานที่ทำงาน” หมายความว่า การขอเปลี่ยนไปทำงานในสถานที่ตั้งอื่นของนายจ้างรายเดียวกัน หรือนายจ้างรายใหม่
“การเพิ่มสถานที่ทำงาน” หมายความว่า การขอเพิ่มไปทำงานในสถานที่ตั้งอื่นของนายจ้างรายเดียวกัน หรือนายจ้างรายใหม่