ประเภทของแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย
๑. แรงงานต่างด้าวระดับฝีมือชำนาญการ
คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในระดับฝีมือชำนาญการจะต้องมีวีซ่า NON – IMMIGRANT – B โดยสถานประกอบการนำเอกสารไปยื่นต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ พิจารณาออกวีซ่า NON – IMMIGRANT – B ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และ คนต่างด้าวต้องไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติและมี ลักษณะต้องห้าม ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๒. แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MoU)
ปัจจุบันประเทศไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU) กับประเทศอื่น ๆ จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยแรงงาน ต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถทำงานได้ 2 ลักษณะงาน คือ งานกรรมกร และงานรับใช้ในบ้าน สำหรับแรงงานต่างด้าวสัญชาติ เวียดนามสามารถทำได้เฉพาะลักษณะงานกรรมกร และต้องทำงานใน กิจการก่อสร้าง และกิจการประมงทะเล เท่านัน
๓. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ลงทุน (ม.๖๒)
คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม หรือกฎหมาย ว่าด้วยการปิโตรเลียม
๔. แรงงานต่างด้าวประเภทชนกลุ่มน้อย (ม.๖๓/๑)
คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และกระทรวงมหาดไทยได้ออกเอกสาร ตาม กฎหมายว่าด้วยการจัดทำทะเบียนประวัติ เช่น คนพื้นที่สูง เป็นต้น
๕. แรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ หรือตาม ฤดูกาล (ม.๖๔)
คนต่างด้าวที่เป็นคนสัญชาติที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย (ปัจจุบันมี 2 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา และเมียนมา) เข้ามาในราชอาณาจักรโดย ใช้บัตรผ่านแดน (Border Pass) ซึ่งจะเข้ามาทำงานได้เฉพาะในพื้นที่จังหวัด ที ่ติดกับชายแดน ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน และจะทำได้เฉพาะงานกรรมกร และงานรับใช้ในบ้าน