fbpx

MoU คืออะไร

what-is-mou

MoU คืออะไร?

MoU (Memorandum of Understanding) คือ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ บันทึกความเข้าใจ ระหว่างองค์กรหรือบุคคล ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปที่มีความเห็นตรงกันว่าจะร่วมมือและยอมรับข้อตกลงร่วมกัน และจะมีผลบังคับใช้เมื่อตัวแทนของผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือบันทึกความเข้าใจเรียบร้อยทุกฝ่าย

mou-มีผลทางกฎหมายไหม

MoU ไม่ใช่หนังสือสัญญาที่มีผลทางกฎหมายโดยตรง แต่จะถูกนำมาใช้อ้างอิงเมื่อเรื่องที่ทั้งทุกฝ่ายที่ลงนามเกิดปัญหา จนต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมาย จึงจะนำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมากล่าวอ้าง ยกเว้นบันทึกสัญญาที่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญา (บันทึกความเข้าใจจะเป็นสนธิสัญญาก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบของสนธิสัญญา ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969)

ทุกฝ่ายที่ลงนามร่วมกัน จะสามารถรับรู้ได้ว่าบันทึกนี้เป็นการผูกมัดในสิทธิและภาระผูกพันทั้งปวงที่มีการกล่าวถึงในบันทึกความเข้าใจนั้น

MoU-agreement
MoU มักถูกเลือกใช้เพื่อเป็นข้อตกลงเมื่อคู่สัญญาไม่ต้องการให้ข้อตกลงของพวกเขาต้องเผชิญกับการบังคับตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากมีการระบุองค์ประกอบทางกฎหมายไว้ในบันทึกความเข้าใจ คู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่ายก็จะต้องปฏิบัติตามที่ระบุเช่นกัน
การลงนามในบันทึกความเข้าใจ แสดงถึงความเต็มใจของทุกฝ่ายที่จะเดินหน้าและเริ่มต้นงาน/โครงการร่วมกัน โดยปกติ ในบันทึกความเข้าใจรายละเอียดของคู่สัญญา ข้อกำหนดพื้นฐาน และสาระสำคัญของข้อตกลงทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในเอกสารบันทึกความเข้าใจ คู่สัญญาควรลงนามเพื่อให้มีผลผูกพันร่วมกัน
บันทึกความเข้าใจเริ่มต้นจากการเริ่มการเจรจา ระบุขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการเจรจาต่อรอง และกำหนดแนวปฏิบัติมาตรฐานที่ตั้งใจไว้ บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชนหลายแห่ง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ใช้ MoU เพื่อเริ่มกระบวนการ

MoU-สัญญา-ต่างกันอย่างไร

บันทึกความเข้าใจ (MoU) กับ สัญญา ต่างกันอย่างไร?

สัญญา คือ นิติกรรมที่มีบุคคล ๒ ฝ่ายขึ้นไปตกลงให้สัญญา ประกอบไปด้วยข้อเสนอและการยอมรับจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยแสดงเจตนาที่ตรงกันก่อให้เกิดเป็นสัญญาขึ้น หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่าฝืนข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญา อีกฝ่ายมีสิทธิฟ้องต่อศาลเรียกร้องและบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย

ส่วนบันทึกความเข้าใจนั้น เป็นบันทึกที่ทั้งสองฝ่ายเสนอเจตจำนงร่วมกัน และ ให้คำมั่นสัญญาที่ตกลงว่าจะทำร่วมกันในอนาคต ไม่ใช่สัญญาที่ถูกต้องหรือกฎหมาย

MoU-แรงงานต่างด้าว

MoU กับ แรงงานต่างด้าว

เนื่องจากประเทศไทยขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม คนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการทำงานที่ใช้แรงงาน และบางคนก็ไปค้าแรงงานที่ต่างประเทศเนื่องจากค่าตอบแทนที่สูงกว่า ดังนั้นเมื่อไม่มีแรงงานคนไทย ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ
ซึ่งทางภาครัฐของไทยได้ทำข้อตกลง ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐ ซึ่งไทยได้ทำ MoU ด้านการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ ไว้กับ ๔ ประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ดังนั้นนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จะต้องทำเรื่องขอ การนำเข้าแรงงานต่างด้าว MoU จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน ไทย - พม่า

ใส่ความเห็น

error: Content is protected !!