แรงงานต่างด้าว MOU หมายถึงอะไร?
แรงงานต่างด้าว MOU หมายถึง แรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ ได้รับการคุ้มครองในสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และ การคุ้มครองตามหลักสากล ปัจจุบันมี 4 ประเทศ ได้แก่
- พม่า (เมียนมา)
- ลาว
- กัมพูชา
- เวียดนาม
เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลน แรงงาน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการใช้ แรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะ แรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ แรงงานจากประเทศ พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ซึ่ง แรงงานต่างด้าว เหล่านี้ ต่างพากันเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยการเข้ามาทำงานในประเทศไทยของ แรงงานต่างด้าว กลุ่มนี้ มีทั้งแบบที่เดินทางเข้าเมืองมาแบบถูกกฎหมาย และลักลอบเข้ามาแบบผิดกฎหมาย
โดยหน่วยงานของรัฐ ที่รับผิดชอบ เรื่องการบริหารจัดการ การทำงานของ คนต่างด้าว โดยตรง คือ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และ มี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ได้แก่
- พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ (แก้ไขล่าสุด ๒๕๖๑)
- พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (แก้ไขล่าสุด ๒๕๖๑)
โดยได้มีการบังคับใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการมุ่งเน้นให้ นำ แรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศ ตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU)
ตัวอย่าง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลกัมพูชา เพื่อความร่วมมือด้านแรงงาน
แนวปฏิบัติในการนำ คนต่างด้าว มาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU)
ปัจจุบันมี 4 ประเทศ ได้แก่
- พม่า หรือ เมียนมา ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
- ลาว ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- กัมพูชา หรือ เขมร ชื่ออย่างเป็นทางการคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา
- เวียดนาม ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ซึ่ง พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้ การนำ คนต่างด้าว มาทำงานกับนายจ้างในประเทศได้ 2 วิธี ดังนี้
- นายจ้างดำเนินการนำ แรงงานต่างด้าว มาทำงานกับตนในประเทศ ด้วยตนเอง
- นายจ้างนำ แรงงานต่างด้าว มาทำงานกับตนในประเทศ โดยผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน (บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ)
และ ปัจจุบันประเทศไทย อนุญาตให้ คนต่างด้าว เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศได้ ตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU) กรณี สัญชาติเมียนมา ลาว และ กัมพูชา สามารถทำงานได้ 2 ลักษณะ คือ
- งาน รับใช้ในบ้าน
- งาน กรรมกร
สำหรับ แรงงานต่างด้าว สัญชาติ เวียดนาม อนุญาตให้ทำงานได้ในลักษณะ งานกรรมกร ในกิจการ ก่อสร้าง และ กิจการ ประมงทะเล เท่านั้น
ขั้นตอนการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามระบบ MOU
- ยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ที่ สำนักงานจัดหางาน ในพื้นที่ของนายจ้าง
- ติดต่อบริษัทจัดหาแรงงานฝั่งประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการ
- รับสมัคร
- คัดเลือก
- ทำสัญญา
- จัดทำบัญชีรายชื่อ (Name List)
- ส่งบัญชีรายชื่อให้นายจ้างไทย
- ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว และการอนุญาตให้คนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้าง
- อบรมคนต่างด้าวก่อนเข้าทำงาน ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง
- แจ้งการจ้าง/แจ้งเข้าทำงาน และการนำส่งใบรับรองแพทย์
- แจ้งที่พักคนต่างด้าว ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
สถานการณ์แรงงานต่างด้าว ณ เดือน ตุลาคม 2563
แรงงานต่างด้าว สัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนามที่นำเข้าตาม MOU มีจำนวนทั้งสิ้น 847,224 คน
- อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 203,713 คน
- อยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ จำนวน 643,511 คน
ประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
- กิจการก่อสร้าง จำนวน 179,000 คน
- กิจการต่อเนื่องการเกษตร จำนวน 132,947 คน
- กิจการการให้บริการต่าง ๆ จำนวน 78,652 คน
ครอบจักรวาล
งานต่างด้าว
นำเข้าใหม่ MOU
ต่ออายุ..
พาสปอร์ต, วีซ่า, ใบอนุญาตทำงาน